วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

IB 321 คาบสุดท้ายในการสอบ


วันนี้เป็นคาบเรียนคาบสุดท้าย อยู่ก็รู้สึกอยากตั้งใจเรียนขึ้นมาเลยมานั่งหน้า หืมมมมมมม !!!! ได้ผล เข้าใจมากขึ้น รู้อย่างนี้มานั่งตั้งนานละ แต่ก็แหมไม่ทันละ วันนี้อาจารย์สอนเรื่องโครงสร้างองค์ ซึ่งอาจารย์บอกว่าโครงสร้างองค์กรมีความสำคัญมาก เพราะว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ หากกิจการของเรามีคู่แข่งขันมาก การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อสู้กับคู่แข่งก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน

อาจารย์บอกว่าการจัดโครงสร้างองค์กรมีหลายวิธี เช่น การจัดตามพื้นที่ การจัดตามสายผลิตภัณฑ์ การจัดแบบผสม แต่เรื่องที่น่าสนใจคือการจัดองค์กรแบบ matrix คือการผสมผสานทุก ๆ วิธี มีรายละเอียดดังนี้

องค์กรแบบMatrix Organization เกิดขึ้นจากที่มีความพยายามในการนำเอาข้อดีของรูปแบบองค์การที่เน้นหน้าที่และโครงการรวมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ให้สำเร็จภายในเวลาและค่าใช้จ่าย(Budget)ที่กำหนด ทำให้เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วในการปฏิบัติงานในด้านลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะมีดังนี้1.แบบแนวนอน(Horizonton)นั่น คือ จะเน้นการทำงานเป็นทีม(Team Work)และอาศัยภาวะผู้นำ(Leader Ship) 2.แนวตั้ง(Vertical) คือ การดำเนินงานที่จะต้องอาศัยทรัพยากรด้านบุคคล เครื่องมือ วัสดุ และเทคโนโลยีจากหน่วยงานตามหน้าที่ แม้ว่าการจัดรูปองค์การแบบ Matrix นั้นจะทำให้เกิดความยืดหยุ่น ความคล่องตัวในการดำเนินงานก็ตาม แต่ก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง และขาดเอกภาพในการบังคับบัญชาได้เช่นกันในการจัดโครงสร้างองค์การที่ดีจะต้องสามารถตอบสนองต่อการดำเนินกิจกรรมขององค์การนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือทำให้องค์การนั้นบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากกรณีศึกษาของ ABB พบว่า การจัดโครงสร้างแบบ Matrix ไม่สำเร็จและไม่สามารถสนองตอบความต้องการในแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี จึงมีแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ 2 วิธีคือ1)เปลี่ยน Structure (โครงสร้าง)การที่จะต้องนำวิธีการปรับเปลี่ยน Structure มาใช้ในการแก้ปัญหาขององค์การเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และต้องใช้เวลานาน และเสี่ยงเนื่องจากอาจถูกต่อต้านจากพนักงาน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและงบประมาณ ฯลฯ วิธีการนี้จึงมักนำมาใช้เมื่อ Structure เดิมไม่สามารถตอบสนองต่อกิจกรรมขององค์การได้อย่างแท้จริง หรือทำให้เกิดความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเท่านั้น2)เปลี่ยน Process (กระบวนการ) ในการทำงานวิธีการนี้นิยมนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากสามารถทำได้รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา และไม่มีผลกระทบต่อบุคลากรในองค์การมากจากกรณีศึกษาของ ABB พบว่า เป็นองค์การขนาดใหญ่ มีการจัดโครงสร้างแบบ Matrix การแก้ไขโดยวิธีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน (Process) วิธีที่น่าจะเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหามากกว่า โดยสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดกับ ABB ได้ดังนี้- จัดหาผู้แทนในการรับผิดชอบ โดยใช้วิธีการกระจายอำนาจตัดสินใจให้แก่บุคลากร เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ผลงาน และความตระหนักในหน้าที่มากขึ้น การประเมินผลงานต้องพิจารณาจากผลงานที่ได้รับ มิใช่วิธีหรือกระบวนการทำงาน- สร้างระบบการติดต่อประสานงานที่คล่องตัว และเอื้ออำนวยต่อการทำงาน โดยใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วย(IT)- สร้างความสำนึกให้แต่ละภูมิภาคให้การสนับสนุนกันและกัน และมีแกนกลางหรือทีมงานกลางร่วมกัน(CENTER)





IB321 4 ก.ย. 52


คาบนี้อาจารย์สอนเรื่องช่องทางการจัดจำหน่าย แต่หนูเลือกมาหนึ่งวิธีคือการ joint venture


กิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือ Consortium


(ก) กิจการร่วมค้า ได้แก่ กิจการที่ดำเนินร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่าง บริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับบุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือนิติบุคคลอื่น

(ข) โดยทั่วไปไม่ถือเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หากแต่ถือเป็นห้างหุ้นส่วน ตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

(ค) ในทางภาษีอากร ถือว่ากิจการร่วมค้าเป็น "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ซึ่งถือเป็นหน่วยทางภาษีอากรแยกต่างหากจากผู้เข้าร่วมค้าแต่ละราย จึงต้องมี และใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเพื่อการปฏิบัติการทางภาษีอากรในนามของกิจการร่วมค้านั้นๆ

(ง) สำหรับกิจการ Consortium โดยทั่วไป มีลักษณะเหมือนกับกิจการร่วมค้า กล่าวคือ ผู้เข้าร่วมกิจการ Consortium ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่สัญญาโดยไม่จำกัดจำนวน แต่ผู้ร่วมค้ากิจการ Consortium จะไม่มีการลงทุน และไม่มีการประกอบกิจการร่วมค้ากันเพื่อนำกำไรมาแบ่งกัน เพียงแต่เข้าประมูลงานร่วมกัน เมื่อได้งานแล้วก็จะแบ่งงานกันทำเป็นสัดเป็นส่วนของแต่ละคน จึงไม่ถือเป็นหน่วยทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

กิจการร่วมค้าในประเทศไทยมี 2 ลักษณะ คือ


1. กิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด และมีสถานะเป็นนิติบุคคล ประเภทนี้ก็จดทะเบียนบริษัทจำกัด เหมือนบริษัทจำกัดทั่วไป กิจการที่เข้ามาร่วมจะมีสภาพของผู้ถือหุ้น

2. กิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เป็นความตกลงทำสัญญาเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน ซึ่งผู้ที่มาเข้าร่วมมีกิจการที่ประกอบอยู่ซึ่งอาจเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดอยู่แล้ว และมาร่วมประกอบกิจการค้าเฉพาะอย่างร่วมกัน กิจการร่วมค้าประเภทนี้มีสถานะเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใด แต่ตามประมวลรัษฎากร ถือเป็นหน่วยของฐานภาษี และบังคับให้ต้องขอเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีต่างหาก และถ้ามีรายได้เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะต้องจดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม
ที่เลือกเขียนวิธีนี้เพราะว่าเป็นความรู้ใหม่และหลังจากได้เขียนแล้วทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น ^^

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

Ib 321 28/8/2009


วันนี้เราไม่มีการเรียนการสอน เพราะมีงานของภาคเรา ประเทศของดิฉันคือประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บอกตรง ๆเลยว่าไม่ค่อยพร้อมเท่าไหร่ต้องขอโทษอาจารย์จริง ๆ แต่นู๋พยายยามสุดความสามารถเลยนะคะ เพราะว่านอกจากงานนี้ เราทำงาน green project งานวิชาอื่นอีกเยอะมาก เวลาแทบไม่พอ งานออกมาเราก็แน่ใจว่าอาจารย์อาจจะผิดหวังไปบ้าง เราจึงขอแก้ตัวด้วยการแสดง เราไม่มีเวลาแม้แต่จะซ้อม เพราะว่าเราหาชุดไม่ได้เราจึงต้องตัดกันเอง ได้ซ้อมอีกทีก็ตอนดีสี่รอบเดียว รู้สึกดีใจมาก ๆที่การแสดงขอบนู๋ได้ที่หนึ่ง รางวัลไม่สำคัญเท่ากับการได้ทำอย่างเต็มที่หรอกคะ และเชื่อว่าเพื่อน ๆทุกกล่มก็ทำกันอย่างสุดความสามารถเช่นกัน มันอาจดูทุลักทุเล แต่ว่าสำหรับตัวดิฉันแล้วเชื่อว่าเพื่อน ๆทุกคนตั้งใจกันมาก ๆ
กิจกรรมนี้ทำให้ได้อะไรหลาย ๆอย่าง จากการทำงาน ทำให้เรารู้ว่าการทำงานถ้าจะให้ดีและทันเวลาต้อง มีการวางแผนล่วงหน้าเป็นอย่างดี เรื่องนี้สำคัญมาก นอกจากนี้ยังได้เห็นถึงน้ำใจของเพื่อน ๆ ที่คอยช่วยเหลือกัน และเห็นได้ว่ามีบางคนที่ไม่ทำอะไรเลย งานนี้งานเดียวทำให้เราได้บทเรียนอะไรหลาย ๆอย่าง และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ บอกตรง ๆ ว่าเสียใจมากตอนอาจารย์เดินมาแล้วแบบว่าทำหน้าไม่พอใจบูธเรา แต่เชื่อว่าถ้ามันดีอาจารย์คงไม่ว่า แต่สิ่งนี้มันทำให้เรามีกำลังใจในการที่เปลี่ยนมันให้ดีขึ้น มันคือบทเรียนในอนาคตว่า "เราควรเอาคำ coment มาแก้ไขเพื่อให้ผลงานดีขึ้น ไม่ใช่มานั่งเสียใจกับมัน " ^^

Ib 321 21/8/2009


ไม่ได้เขียนนานเลยคะ ผ่านช่วงงานเยอะ ๆ ไปได้แล้ว คือเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมาไม่ได้ขึ้นเรียนเพราะว่ามาเฝ้าบูธที่งาน open house ก็เลยไม่ทราบว่าอาจารย์สอนอะไรอะคะ เดี๋ยวนู๋อ่านเพิ่มเอานะคะ
ถ้าอย่างนั้น พูดถึงเรื่องงาน open house แล้วกันนะคะ ว่างานนี้ถือเป็นงานที่น่าสนใจมาก ๆ มีการเปิดมหาวิทยาลัยเพื่อให้น้อง ๆ ม.ปลายเข้ามาเยี่ยมเยียนคณะต่าง ๆในมหาวิทยาลัย ถือเป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยไปในตัวด้ว
ยนะคะ และภาค IBM ของเราก็ก็มีการแนะนำภาคเช่นการ นอกจากนี้ยังมีการเล่นเกมส์เพื่อความสนุกสนานอีกด้วย
การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มากขึ้นและทำงานเพื่อภาคด้วย ^^"

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

IB 321 ไปดูงานที่มาม่าค่ะ

14 สิงหาคม 2552 วันนี้เป็นวันที่ไปดูงานที่โรงงานในเครือสหพัฒน์ โรงงานมาม่าคะ น่าสนใจมาก ออกเดินทางจากมหาลัยประมาณ 6.3o น. นั่งรถไปก็ตื่นเต้นคะไปกันกับเพื่อน ๆเป็นครั้งแรก คุยกันอย่างเดียว แล้วก็นั่งหลับอีกอย่าง 55 ซักพักอาจารย์แวะพักมอร์เตอร์เวย์ให้เข้าห้องน้ำกัน ทุกคนดูตื่นเต้น รวมทั้งเราด้วย อิอิ

รถออกเดินทางซักพัก็ถึงโรงงานมาม่า พอถึงก็เดินไปที่ห้องสัมมนา มีวิทยากรมาบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาต่าง ๆ และเรื่องที่น่าสนใจมากมาย และเรื่องที่สงสัยมานานคือว่า ทำไมเส้นมาม่าต้องหยิก เหตุผลก็เพราะ ถ้าเส้นตรงก็ทำให้หักได้ง่าย และก็เวลาเราคีบก็จะทำให้เส้นลื่น และการทำให้เส้นเป็นเส้นหยิก ๆ ก็ง่ายสำหรับการลาดน้ำซุปแล้วจะติดง่าย หลังจากบรรยายของวิทยากรเราก็มีการถ่ายรูปเป็นที่ระลึก แล้วก็เดินไปดูในสายการผลิต ดูวิธีการผลิตมาม่า ทุกอย่างทำด้วยเครื่องจักร ใช้คนน้อยมาก ดูไฮเทคโนโลยีมักมาก

หลังจากนั้นเราทุกคนก็เดินทางมุ่งหน้าไปยัง หาดแหลมฉบัง เพื่อไปทานอาหารกันที่ร้านประการัง อาหารอร่อยมาก โต๊ะเราคนน้อยมาก 55 หนักเลยอาหารเหลือ พอทานอาหารเสร็จเราก็ออกไปเก็บภาพประทับใจกันข้างนอก ซึ่งภาพประทับใจคงมีเยอะมาก เพราะว่าแบบว่าถ่ายแล้วยิ้มจนเมื่อยปากอะ แต่ว่าสนุกมาก หลังจากนั้นเราก็ไปกันต่อที่วัดใหญ่อินทาราม เพื่อสักการะบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ มีการบรรยายจากวีดีโอถึงความเป็นมาของการสร้างโบสถ์ น่าสนใจมาก ๆ ว้นนี้นอกจากทำกิจกรรมหลาย ๆแล้วยังได้ทำบุญด้วยที่นี่

ซึ่งปราบปลื้มมาก ^^ ชอบ ๆ จากนั้นเราก็เดินทางกลับกัน ระหว่างทางสงสัยมากคะ อาจารย์เฟรชยืนตั้งแต่ออกจากวัดใหญ่จนถึงมหาลัย อาจารย์ทำได้ไงเนี่ย

กิจกรรมนี้ทำให้ได้รับอะไรหลาย ๆอย่าง ได้สนิทกับเพื่อน ซึ่งสนุกมากดิฉันเชื่อว่าภาคไหนก็คงไม่เป็นอย่งนี้ ขอบคุณสำหรับกิจกรรม ขอบคุณอาจารย์ ขอบคุณเพื่อน ๆ และก็ดีใจมากและคิดไม่ผิดจริง ๆที่เลือกภาคนี้ มีกิจกรรมดี ๆ อย่างนี้อีกนะคะ -^^-

IB 321 การวางแผนกลยุทธ์


เขียนครั้งนี้เป็นของวันที่ 7 สิงหาคม นะคะ อาจารย์ งานหนูเยอะจริง ๆคะ เขียนช้าไปหน่อยนะคะ

เรื่องที่อาจารย์สอนก็คือเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ โมเดล Five Force ของ Michael Porter เป็น Model ที่นิยมกันมากในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อให้รู้ถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจของเรากับสิ่งรอบข้างที่มีผลต่อการทำธุรกิจของเรา โดยเป็นการวิเคราะห์ในเชิงบวกที่ไม่ใช่เพียงการเอาชัยเหนือคู่แข่งแต่ยังพูดถึงการร่วมมือกันเป็นพันธมิตร อย่างไรก็ตาม มักมีความเข้าใจกันว่า การวิเคราะห์ธุรกิจโดยนำหลัก Five Force มาใช้นั้นควรใช้สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสูงส่วนธุรกิจขนาดเล็กนั้นไม่มีความจำเป็นต้องทำเป็นเรื่องเป็นราวขนาดนั้น หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก็สามารถใช้ Model ธุรกิจแบบ Five Force มาใช้ได้เพื่อเสริมให้ธุรกิจของเรานั้นมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น : ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอนดังนี้คะ


1. Rivalry Among Current Competitors: การแข่งขันกันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน
2. Bargaining Power of Suppliers: อำนาจต่อรองของ Supplier
3. Bargaining Power of Customers: อำนาจต่อรองของลูกค้า
4. Threat of Substitute Products or Services: ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน
5. Threat of New Entrance: ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่


คือว่ายอมรับเลยจริง ๆว่าแล้ววันนี้มองไม่เห็นกระดาน มาสายเลยนั่งข้างหลัง เดี๋ยวคาบหน้าจะไปนั่งข้างหน้านะคะ นั่งฟังก็ได้ยินเรื่อง five forces นี่แหละคะ แล้วก็หาความรู้เพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ


ขอขอบคุณ http://tor.gprocurement.go.th/ สำหรับข้อมูลนะคะ

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

IB 321 สำหรับคาบสุดท้ายก่อนสอบ midterm

วันนี้เป็นคาบสุดท้ายสำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้แล้ว แปปเดียวจริง ๆ ผ่านไปเร็วมากก็ต้องสอบแล้ว วันนี้อาจารย์สอนหลายเรื่องเลย เรื่องแรกก็น่าจะเป็นเรื่องการคำนวณในตาราง เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ ก็ทำให้พอสรุปได้ว่า
การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้ก็เพราะว่าแต่ละประเทศมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน และมีความเหมาะสมในการผลิดสินค้าในแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ความชำนาญงานในการผลิตก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการค้าระหว่างประเทศเพื่อทำให้เกิดการสมดุลทางการค้า และเพื่อประโยชน์ในระดับกว้าง
หากเรามีการค้าระหว่างประเทศก็จะทำให้ผลผลิตมวลรวมของโลกมีปริมาณมากขึ้น แต่หากว่าไม่มีการค้าระหว่างประเทศผลผลิตมวลรวมจะมีค่าน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะว่าแต่ละประเทศจะได้ทำการผลิตสินค้าตามชนิดที่แต่ละประเทศมีความชำนาญ และก็จะทำให้ผลิดได้ในปริมาณมาก ๆ โดยใช้ต้นทุนต่ำ และสินค้าตัวใดที่เรามีต้นทุนสูง เราก็ควรนำเข้าสินค้านั้นจากต่างชาติ


ส่วนในเรื่องของทฤษฏีต่าง ๆ สำหรับการค้าสมัยใหม่ ก็พอสรุปได้ว่า(ที่พอจำได้นะคะ)
1 ทฤษฏีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ Absolute Advantage Theory เจ้าของทฤษฏีนี้ก็คือ อดัม สมิธ
ตามทฤษฎีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ของอดัม สมิธ คือ แต่ละประเทศได้รับประโยชน์จากความชำนาญในการผลิตสินค้าที่ผลิต ณ ต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศอื่น และนำเข้าสินค้าที่ผลิต ณ ต้นทุนที่สูงกว่า เพราะโลกใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากความชำนาญ ตามทฤษฎีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตของโลกเพิ่มขึ้น กระจายสู่สองประเทศโดยผ่านการค้า


2. ทฤษฏีการได้เปรียบโดยเปรียบโดยเปรียบเทียบ Comparative Advantage Theory เจ้าของทฤษฏีคือ
David Ricardo เค้ามองเห็นชองว่างของทฤษฏีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ว่าหากแต่ละประเทศมีประสิทธิภาพในการผลิดสินค้ามากกว่าคู่ค้าทุกชนิด ประเทศที่ด้อยก็คงไม่ได้ส่งออกเลยหรือ นี่เป็นคำถามคาใจ จึงทำให้เกิดทฤษฏีนี้ขึ้นมา



เพียงแค่นี้ก็เป็นความรุ้ให้เราได้มากมายแล้ว
ต่อไปจะเป็นข้อมูลที่หาเพิ่มเติมจากความรู้เดิม

Mercantilists (1500-1800) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเขียนในยุโรปกังวลใจเกี่ยวกับกระบวนการสร้างชาติ ตามคำกล่าวของนักพาณิชย์นั้น คำถามที่ว่าทำอย่างไรชาติสามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศชาติของตน โดยการกำหนดกฎเกณฑ์ทั้งภายในและระหว่างประเทศอย่างไรเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ส่วนตน คำตอบก็คือ “ต้องมีภาคการค้าระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งโดยถ้าสามารถบรรลุ การค้าได้เปรียบ (favorable trade balance) คือ การที่สามรรถจะส่งออกได้มากกว่าการนำเข้า อันจะนำมาซึ่งการเคลื่อนย้ายของรายได้ที่ไหลมาจากประเทศอื่นๆของโลกในรูปทองคำและ เงิน โดยรายรับที่ได้มาจะก่อให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและผลผลิตและการจ้างงานเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการมีดุลการค้าเกินดุล นักพาณิชย์นิยมสนับสนุนให้รัฐบาลมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการค้า อันได้แก่ การเก็บภาษี (tariffs) โควตา และนโยบายการค้าอื่นๆที่เสนอโดย นักพาณิชย์ฯ เพื่อนำเข้าให้น้อยที่สุด เพื่อปกป้องฐานะทางการค้าของประเทศ
ในช่วงทศวรรษที่ 18 นโยบายทางเศรษฐกิจของนักพาณิชย์ฯได้รับการโจมตีอย่างรุนแรง
โดยมีหนังสือของเดวิด ฮูม (David Hume) ที่ชื่อว่า price-specie-flow doctrine ที่กล่าวว่าดุลการค้าเกินดุล (favorable balance of trade) เป็นไปได้ในระยะสั้นเท่านั้น ส่วนในระยะยาวนั้นดุลการค้าที่เกินดุลดังกล่าวจะถูกขจัดไปโดยอัตโนมัติ ตัวอย่าง เช่นสมมติว่าประเทศอังกฤษมีการเกินดุลการค้า (Trade surplus) ทำให้เกิดการไหลเข้าของทองคำและเงิน โลหะมีค่าเป็นส่วนหนึ่งของปริมาณเงิน (Money supply) ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นในการหมุนเวียน ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับราคาเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้า ทำให้พลเมืองอังกฤษจะได้รับการสนับสนุนให้ซื้อสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศ เมื่อปริมาณการส่งออกของประเทศอังกฤษลดลง ในที่สุดส่วนเกินทางการค้าของประเทศก็จะหมดไป ดังนั้น ทฤษฎีของเดวิด ฮูม จึงแสดงให้เห็นว่า นโยบายของนักพาณิชย์นิยมจะใช้ได้ที่สุดเฉพาะประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะสั้น
นอกจากนี้แล้วนักพาณิชย์นิยมยังถูกโจมตีในเรื่องมุมมองแบบสถิตย์ (static view) ของระบบเศรษฐกิจโลก โดยในมุมมองของนักพาณิชย์นิยมนั้นส่วนแบ่งของโลกมีขนาดคงที่ นั่นหมายถึง ผลได้ของประเทศหนึ่งคือผลเสียของอีกประเทศหนึ่ง โดยข้อโต้แย้งก็คือ ทุกประเทศไม่สามารถได้ผลประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศได้ทั้งหมด ความคิดเห็นดังกล่าวนี้ถูกท้าทายโดยหนังสือของอดัม สมิธ (1723-1790) ชื่อ ความมั่งคั่งของชาติ (Wealth of Nation) โดยสมิธกล่าวว่า ส่วนต่างๆของเศรษฐกิจของโลกไม่ได้มีปริมาณคงที่ การค้าระหว่างประเทศจะทำให้ประเทศได้ประโยชน์จากความชำนาญ (specialization) และการแบ่งงานกันทำ (division of labor) ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิต (productivity) ภายในประเทศเพิ่มขึ้น และผลผลิตของโลกเพิ่มขึ้น แนวคิดของที่เป็นพลวัตรของการค้าระหว่างประเทศของสมิธ กล่าวว่าทั้งสองประเทศที่ทำการค้าระหว่างกันนั้นสามารถที่จะมีระดับของการผลิตและการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการค้าเสรี (free trade) โดยทฤษฎีการค้าของอดัม สมิธที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ คือ ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Absolute Advantage Theory) ที่จะอธิบายต่อไปนี้



ที่มาจาก http://www.econ.cmu.ac.th/teacher/nisit/payao/CBch2(trade).doc